0
สภาพทางสังคม
1.การศึกษา
จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า ประชากรอายุ 15-60ปีเต็ม ร้อยละ 99อ่าน เขียนภาษไทยและคิดเลขอย่างง่ายได้ เด็กอายุ 6-14ปี ร้อยละ100ได้รับการศึกษาภาคบังคับ 9 ปีได้เรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4หรือเทียบเท่า และที่ไม่ได้เรียนต่อมีงานทำร้อยละ 99ด้านการศึกษาอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ปัญหาคือ ยังไม่สามารถที่จะแข่งขันกับเมืองใหญ่ๆ ได้ การแก้ปัญหาขององค์การบริหารส่วนตำบลได้จัดกิจกรรมให้กับเด็กของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก การสนับสนุนอาหารเสริมนม อาหารกลางวัน ในหับทางโรงเรียนในเขตพื้นที่ และร่วมกันจัดกิจกรรมต่างๆ กับทางโรงเรียน และสถานศึกษาที่อยู่ในพื้นที่ดังนี้
-โรงเรียนพัฒนศึกษา เป็นโรงเรียนขยายโอกาส มีการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษาตอนต้นตั้งอยู่หมู่ที่ 5 บ้านทับขอน
-โรงเรียนบ้านปากทรง เป็นโรงเรียนระดับประถมศึกษา ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 บ้านห้างแก และมีห้องเรียนพิเศษที่อยู่ในสังกัด 2 แห่ง สอนระดับประถมศึกษา ได้แก่ ห้องเรียนพิเศษบ้านตะแบกงาม หมู่ที่ 7 และห้องเรียนพิเศษบ้านคลองเรือหมู่ที่ 9
-โรงเรียนบ้านต่อตั้ง เป็นโรงเรียนระดับประถมศึกษา ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 1 บ้านต่อตั้ง
-ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทับขอน เป็นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลปากทรง ซึ่งได้รับการถ่ายโอนจากรมการพัฒนาชุมชน
-ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตะแบกงาม เป็นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลปากทรง ซึ่งดำเนินการจัดตั้งเอง เมื่อวันที่19 มีนาคม 2556
-ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนตำบลปากทรง 1 แห่ง
-ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน 9 แห่ง
2.สาธารณสุข
จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า ประชาชนกรส่วนมากมีสุขภาพที่ดี มีการคัดกรองสุขภาพให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยง โรคที่มักเกิดแก่ประชากรในชุมชน เช่นกัน ได้แก่ ไข้เลือดออกชิกุนคุณย่า โรคความดัน เบาหวาน โรคมือ-ปาก-เท้าในเด็ก และโรคอื่นๆ อีกมาก มีสถิติเข้ารับการรักษาพยาบาล ปัญหาคือประชาชนบางรายไม่ยอมไปคัดกรองหรือตรวจสุขภาพประจำปี การแก้ไขปัญหา คือ องค์การบริหารส่วนตำบลและหน่วยงานสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลได้จัดกิจกรรมร่วมมือกันรณรงค์ให้ชุมชนเห็นความสำคัญในเรื่องนี้ซึ่งก็ได้ผลในระดับหนึ่ง ประชาชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีแต่ต้องเป็นการดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกจากการสำรวจข้อมูลพื้นฐาน บางครัวเรือนไม่ได้กินอาหารที่ถูกสุขลักษณะ การใช้ยาเพื่อบำบัดอาการเจ็บป่วยที่ไม่เหมาะสมบางรายมีพฤติกรรมที่ดื้อและไม่ยอมปฏิบัติตามแพทย์สั่ง ต้องมีการควบคุมให้รับประทานยาเพื่อบำบัดโรคการออกก าลังกายยังไม่สม่ำเสมอ ปัญหาเหล่านี้องค์การบริหารส่วนตำบลพยายามอย่างยิ่งที่จะแก้ไข โดยร่วมมือกับโรงพยาบาล สาธารณสุข จัดกิจกรรมเพื่อแก้ไขปัญหา
(1) หน่วยงานด้านสาธารณสุข
-สถานีอนามัยประจำตำบล 1 แห่ง จำนวนเตียงคนไข้ 2 เตียงโดยมีบุคลากรทางสาธารณสุข คือ
1. แพทย์ จำนวน 1 คน (ไม่ได้อยู่ประจำ แต่มาตรวจรักษาเดือนละครั้ง)
2. เจ้าพนักงานสาธารณสุขอาวุโส จำนวน - คน
3. พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 2 คน
4. นักวิชาการสาธารณสุข จำนวน 2 คน
5. อาสาสมัครสาธารณสุข จำนวน 116 คน
(2) สถานการณ์/ปัญหาสุขภาพ (ตำบลปากทรง) โรคที่ประชาชนในตำบลปากทรงเจ็บป่วย
1. โรคไข้เลือดออก
2. ไข้หวัด
3. ระบบทางเดินอาหาร
4. วัณโรค
5. คออักเสบ
6. โรคระบบต่อมไร้ท่อ (เบาหวาน)
7. โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด (ความดันโลหิต)
8. โรคมาเลเรีย
- มีศูนย์บริการสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(ศสมช.) จำนวน 9 แห่ง
- มีกองทุนระบบหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปากทรง ซึ่งจะได้รับเงินอุดหนุนงบประมาณรายหัวจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติรายหัวประชากรคนละ 45บาท และ อบต. สมทบอีกจำนวนหนึ่งไม่น้อยกว่าร้อยละ 40
3.อาชญากรรม
องค์การบริหารส่วนตำบลปากทรง ไม่มีเหตุอาชญากรรมเกิดขึ้น แต่มีการมั่วสุมของเด็กนักเรียนวัยรุ่นบางกลุ่มวิธีการแก้ปัญหาขององค์การบริหารส่วนตำบลที่สามารถดำเนินการได้ตามอำนาจหน้าที่และงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด คือการติดตั้งกล้องวงจรปิดในจุดที่เป็นที่สาธารณะ ติดตั้งกระจกโค้งบริเวณทางร่วมทางแยก รวมทั้งได้ตั้งจุดตรวจ จุดสกัด จุดบริการ ในช่วงเทศกาลที่มีวันหยุดหลายวันเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน
4.ยาเสพติด
ปัญหายาเสพติดในชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลจากการที่ทางสถานีตำรวจตำบลปากทรงได้แจ้งให้กับองค์การบริหารส่วนตำบลทราบนั้นพบว่าในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลมีผู้ที่ติดยาเสพติดแต่เมื่อเทียบกับพื้นที่อื่นถือว่าน้อย และยังไม่พบผู้ค้า เหตุผลก็เนื่องมาจากว่าได้รับความร่วมมือกับทางผู้นำ ประชาชน หน่วยงานขององค์การบริหารส่วนตำบลที่ช่วยสอดส่องดูแลอยู่เป็นประจำ การแก้ไขปัญหาขององค์การบริหารส่วนตำบลสามารถทำได้เฉพาะตามอำนาจหน้าที่เท่านั้น เช่น การณรงค์ การประชาสัมพันธ์ การแจ้งเบาะแส การฝึกอบรมให้ความรู้ ถ้านอกเหนือจากอำนาจหน้าที่ ก็เป็นเรื่องของอำเภอหรือตำรวจแล้วแต่กรณี ทั้งนี้ องค์การบริหารส่วนตำบลก็ได้ให้ความร่วมมือมาโดยตลอด
5.การสังคมสังเคราะห์
องค์การบริหารส่วนตำบลได้ดำเนินการด้านสงคมสังเคราะห์ ดังนี้
1. ดำเนินการจ่ายเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยเอดส์
2. รับลงทะเบียนและประสานโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด
3. ประสานการทำบัตรผู้พิการ
4. ประสานเงินสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้ยากจน ยากไร้ รายได้น้อย และผู้ด้อยโอกาสไร้ที่พึ่ง
5. ประสานเงินช่วยเหลือปรับปรุงซ่อมแซมบ้านผู้สูงอายุ ผู้พิการ
6. ประสานเงินช่วยเหลือการกู้ยืมเงินของกองทุนผู้สูอายุ และ ผู้พิการ
7. ประสานให้ความช่วยเหลือผ้าห่มกันหนาวสำหรับผู้ยากไร้
8. ประสานให้ความช่วยผู้ประสบปัญหาทางสังคม เช่น รายได้ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ บ้านที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย หรือภัยพิบัติทางธรรมชาติฯลฯ
9. ประสานให้ความช่วยเหลือครอบครัวอุปถัมภ์